แนวทางการบริหารจัดการความปลอดภัย มั่นคง อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม
ด้วยกิจกรรมของกลุ่มบริษัทฯ หลายส่วนเป็นงานบริการที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสียจำนวนมาก ทำให้กลุ่มบริษัทฯ ให้ความสำคัญด้านอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยเฉพาะปัญหาจากโรคอุบัติใหม่ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของแรงงาน รวมถึงผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดโอกาสและป้องกันความเสี่ยงในชีวิตและทรัพย์สินที่อาจส่งผลกระทบ รวมถึงการป้องกันการก่อให้เกิดการละเมิดต่อสิทธิด้านการมีชีวิตและความปลอดภัยต่อพนักงาน คู่ค้า ผู้รับเหมา ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ด้วยเหตุนี้ กลุ่มบริษัทฯ ได้วางนโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม และดำเนินการมาตรการเชิงรุกเพื่อรับรองความปลอดภัยและสวัสดิการของพนักงาน และผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ผ่านระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มาตรการต่างๆ ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 รวมถึงกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดอย่างเคร่งครัด รวมทั้งการส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและขวัญกำลังใจของพักงานในการทำงานกับกลุ่มบริษัทฯ ให้สามารถทำงานได้อย่างปลอดภัยและลดจำนวนการเกิดอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ และการเจ็บป่วยจากการทำงานให้ได้มากที่สุด
แนวทางการบริหารความเสี่ยงของกลุ่มบริษัทฯ นั้นมีการกำหนดกระบวนการและขั้นตอนการประเมินความเสี่ยงด้านอาชีว อนามัยและความปลอดภัยให้สอดคล้องกับมาตรฐาน ISO 45001 ที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลก โดยกระบวนการประเมินความเสี่ยงจะเริ่มตั้งแต่การจำแนกกิจกรรมที่ทำเป็นประจำและไม่ประจำ เพื่อระบุโอกาสการเกิดความเสี่ยง และดำเนินการประเมินโอกาสการเกิดและขนาดความรุนแรง เพื่อจัดลำดับความสำคัญของสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง กำหนดมาตรการควบคุมความเสี่ยงและลดโอกาสเกิดเหตุอย่างเหมาะสม รวมถึงการสอบสวนอุบัติเหตุ เพื่อวิเคราะห์อุบัติเหตุเพื่อไม่ให้เกิดซ้ำและพัฒนาระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพให้มากขึ้น
ทั้งนี้กลุ่มบริษัทฯ ได้จัดตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย ซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหาร พนักงานจากกลุ่มธุรกิจทั้งหมด และฝ่ายทรัพยากรบุคคล ทำหน้าที่การบริหารจัดความปลอดภัย โดยจะรับข้อคิดเห็น ให้คำปรึกษาและทบทวนประเด็นความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัย โดยผลการประชุมจะถูกรายงานให้ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทฯ ในทุกไตรมาส และจัดตั้งแผนกความปลอดภัยภายใต้การดูแลของประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ เพื่อกำกับดูแลประเด็นด้านความปลอดภัยและเพื่อบรรลุเป้าหมายอุบัติเหตุเป็นศูนย์ทั่วทั้งองค์กร
นอกจากนี้กลุ่มบริษัทฯ ได้มีการกำหนดเป้าหมายและการประเมินผลงานในการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในประเด็นต่างๆ เพื่อให้สามารถบริหารจัดการประเด็นความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายสูงสุดที่อุบัติเหตุเป็นศูนย์ทั่วทั้งองค์กร ดังนี้นอกจากนี้กลุ่มบริษัทฯ ได้มีการกำหนดเป้าหมายและการประเมินผลงานในการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในประเด็นต่างๆ เพื่อให้สามารถบริหารจัดการประเด็นความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายสูงสุดที่อุบัติเหตุเป็นศูนย์ทั่วทั้งองค์กร ดังนี้
A: Safety Security Health Environment Management (SSHE)
A2: Safety Leading & Lagging KPIs
SSHE Objective and targets 2023
Objective | Safety leading indicators | 2023 Target | Jan-Dec 2023 Actual |
---|---|---|---|
Improve behavior based safety and maintain workplace control | SSHE Monthly Meeting | 12 | 12 |
Safety Management Meeting and Site Observation | 4 | 4 | |
Safety Talks | 12 | 21 | |
Site Safety Inspection | 4 | 4 | |
Contractor Safety Audit (ESG) | 3 | 4 | |
Safety Internal Audit | 1 | 0 | |
Unsafe report | >100 | 374 | |
Protect life, Property | Fire Incident | 0 | 1 |
Employee Lost time accident | 0 | 0 | |
Contractor Lost time accident | 3 | 2 | |
Vehicle accident | <15 | 2 | |
Reduce incident rate | TRIFR | ≤0.5 | 0.45 |
Man hours without lost time accident | >15,000,000 | 10,501,501 |


