ด้านสังคม

เหตุสารเคมีรั่วไหล

จากกระบวนการประเมินความเสี่ยง กลุ่มบริษัทฯ ได้กําหนดให้การรับสัมผัสสารเคมีที่โรงบําบัดน้ําเสียเป็นหนึ่งในความเสี่ยงด้านความปลอดภัย กลุ่มบริษัทฯ คาดว่าพนักงานที่โรงบําบัดน้ำเสียอาจได้รับสัมผัสสารคลอรีนและโซเดียมไฮดรอกไซด์ จึงได้มีการระบุและใช้มาตรการบรรเทาผลกระทบดังต่อไปนี้เพื่อจัดการความเสี่ยงดังกล่าว :

  • จัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ที่เหมาะสมสําหรับพนักงานทุกคน
  • ติดตั้งเครื่องตรวจจับคลอรีน
  • ตรวจสอบสถานที่ปฏิบัติงานทุกปี และ
  • จัดให้มีการตรวจสุขภาพประจําปีสําหรับพนักงาน

เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ปี 2564 กลุ่มบริษัทฯ ได้จัดการซ้อมตอบสนองภาวะฉุกเฉินสําหรับเหตุการณ์สารเคมีรั่วไหลที่นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด (WHA ESIE) โดยมีผู้เข้าร่วมจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมสวัสดิการและคุ้มครอง แรงงาน หน่วยงานท้องถิ่น ชุมชนท้องถิ่น โรงพยาบาลท้องถิ่น ลูกค้า และพนักงานของกลุ่มบริษัทฯ และอื่น ๆ การฝึกซ้อม ดังกล่าวครอบคลุมกลไกการตอบสนอง เช่น การรายงานเหตุ ฉุกเฉิน การปฐมพยาบาล การเลือกอุปกรณ์ PPE การสั่งการและการควบคุม เป็นต้น

ทั้งนี้ในปี 2564 ได้มีเหตุรถบรรทุกสารเคมีของลูกค้าตกลงไปในทางระบายน้ําและเกิดเหตุสารเคมีรั่วไหลตามมาที่เขตประกอบการอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ระยอง (WHARIL) โดยทีมงานทางด้านความปลอดภัยและความมั่นคงของกลุ่มบริษัทฯ ได้เข้าจัดการ สถานการณ์ตามมาตรการและขั้นตอนที่ได้วางไว้ ซึ่งขณะเกิดเหตุไม่มีพนักงานของกลุ่มบริษัทฯ ได้รับบาดเจ็บ ถึงกระนั้น กลุ่มบริษัทฯ ยังคงพัฒนาและปรับปรุงการป้องกันด้านความปลอดภัยบนท้องถนนอยู่เสมอ เพื่อใช้เป็นมาตรการป้องกันหลังเกิดเหตุและตอบสนอง ต่อเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกันในอนาคตได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

Tenant Health & Wellbeing Measure
กลุ่มบริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะสร้างโครงการที่ไม่เพียงสร้างความพอใจสูงสุดต่อกลุ่มลูกค้า แต่ยังมีความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม อีกทั้ง กลุ่มบริษัทฯ ยังได้คำนึงถึงผู้ที่ต้องอยู่ในโครงการหรืออาคารของกลุ่มบริษัทฯ
อ่านเพิ่มเติม
แนวทางการบริหารจัดการความปลอดภัย มั่นคง อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม
ด้วยกิจกรรมของกลุ่มบริษัทฯ หลายส่วนเป็นงานบริการที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสียจำนวนมาก ทำให้กลุ่มบริษัทฯ ให้ความสำคัญด้านอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยเฉพาะปัญหาจากโรคอุบัติใหม่ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของแรงงาน รวมถึงผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง
อ่านเพิ่มเติม
พิธีมอบประกาศนียบัตรให้กับผู้เข้าอบรมในหลักสูตรการสร้างเสริมสุขภาพครบวงจรสำหรับบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม (Wellness for Industry) รุ่นที่ 1 จำนวน 21 คน จาก 18 หน่วยงานชั้นนำในภาคเอกชน
วันที่ 10 มีนาคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.สราวุธ เทพานนท์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มอบประกาศนียบัตรให้กับผู้เข้าอบรมในหลักสูตรการสร้างเสริมสุขภาพครบวงจรสำหรับบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม
อ่านเพิ่มเติม