ด้านธรรมาภิบาลและเศรษฐกิจ

การสร้างวัฒนธรรมความเสี่ยง

แม้ว่ากรอบการบริหารความเสี่ยงและบรรษัทภิบาลจะเป็นตัวขับเคลื่อนวัฒนธรรมความเสี่ยงในเชิงบวก แต่ปัจจัยพื้นฐานที่สําคัญ คือ ความตระหนักรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมของพนักงาน และผู้บริหารในองค์กร ด้วยเหตุนี้กลุ่มบริษัทฯ จึงได้กําหนดการสร้างวัฒนธรรมความเสี่ยงที่มีประสิทธิผลในทุกการดําเนินธุรกิจให้เป็นภารกิจสําคัญขององค์กร

กลุ่มบริษัทฯ อยู่ในระหว่างการปรับเปลี่ยนระบบการสร้างแรงจูงใจด้วยแนวทางที่มาจากผู้บริหาร (Top-down) โดยจะบรรจุประเด็น ความเสี่ยงที่ระบุในดัชนีชี้วัดความสําเร็จ (KPI) ของผู้บริหารและเจ้าของความเสี่ยงและมีตัวบ่งชี้ความเสี่ยงเป็นหนึ่งในเกณฑ์การ ประเมินผลการดําเนินงานซึ่งแนวทางดังกล่าวจะช่วยผลักดันให้เกิดการส่งเสริมการสื่อสารและการปฏิบัติที่มุ่งเน้นความเสี่ยง โดยตรง ตัวอย่างเกณฑ์การประเมินที่ใช้ทั่วทั้งกลุ่มบริษัทฯ ได้แก่ การปฏิบัติตามกฎระเบียบ ชื่อเสียง และผลการดําเนินงานทางการเงิน

ทั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมความเสี่ยงให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น กลุ่มบริษัทฯ ได้จัดให้มีโครงการอบรมและกิจกรรมเกี่ยวกับการบริหาร ความเสี่ยงขึ้นเป็นประจํา เพื่อสร้างความตระหนักรู้และพัฒนาทักษะของพนักงานในการระบุ ควบคุม และลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่และความรับผิดชอบของตน การฝึกอบรมและกิจกรรมที่สําคัญมีดังต่อไปนี้

คณะผู้บริหารจะได้รับทราบถึงแนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งในและนอกองค์กรผ่านรายงานของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงในที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท เพื่อให้แน่ใจว่าผู้บริหาร คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ตลอดจนคณะทํางานความเสี่ยง ได้รับรู้และตระหนักดีถึงฝั่งความเสี่ยงขององค์กร ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ มาตรการลดความเสี่ยง ตลอดจนกระบวนการบริหารความเสี่ยง โดยรวมจึงกล่าวได้ว่า ผู้บริหารระดับสูงร้อยละ 100 ได้รับการฝึกอบรมและแจ้งให้ทราบถึงกระบวนการบริหารความเสี่ยงเป็นอย่างดี นอกจากนี้กลุ่มบริษัทฯ ยังได้อัพเดทข้อมูลความรู้และจัดการอบรมให้แก่กรรมการใหม่ที่ไม่ได้อยู่ในคณะผู้บริหารแต่ปฏิบัติงานอยู่ในคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง นับตั้งแต่ปี 2563 กลุ่มบริษัทฯ ได้นําแนวทางการป้องกัน 3 ระดับ (Three Lines of Defense: SLOD) มาใช้เพื่อเสริมประสิทธิภาพการสื่อสารเกี่ยวกับการบริหารและควบคุมความเสี่ยง โดยได้ระบุบทบาทหน้าที่ที่สําคัญของบุคลากรที่เกี่ยวข้องไว้อย่างชัดเจน ตามแนวทางการป้องกัน 3 ระดับ ซึ่งฝ่ายบริหารที่ทําหน้าที่กํากับดูแลจะถือเป็นปราการด่านแรกในการบริหารความเสี่ยง โดยมีหน่วยงานที่มีหน้าที่ควบคุมความเสี่ยงและกําหนดนโยบายกฎเกณฑ์ที่แต่งตั้ง โดยคณะผู้บริหารเป็นปราการด่านที่สอง และหน่วยงานตรวจสอบที่มีสถานะเป็นหน่วยงานอิสระเป็นปราการด่านสุดท้าย ทั้งนี้ ปราการป้องกันแต่ละ “ระดับ” ดังกล่าว จะมีบทบาทที่แตกต่างกันภายในกรอบการกํากับดูแลในระดับองค์กร ดังนั้น กลุ่มบุคลากรที่มีส่วนร่วมจะมีหน้าที่เป็นเจ้าของในกระบวนการบริหารความเสี่ยง รวมถึงกระบวนการกํากับดูแลความเสี่ยง และการตรวจสอบโดยอิสระตามลําดับ ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทฯ คาดหวังให้หน่วยงานทั้งหมดที่เกี่ยวข้องนั้นมีความตระหนักรู้และได้รับการสื่อสารที่เพียงพอเกี่ยวกับแนวทางดังกล่าว เพื่อให้แน่ใจว่าองค์กรมีการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ

ในปี 2564 กลุ่มบริษัทฯ ได้จัดอบรมการบริหารความเสี่ยงให้แก่ กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานในทุกกลุ่มธุรกิจ โดยมุ่งหวังที่จะช่วยให้พนักงานทุกคนเกิดความตระหนักรู้และมีความรับผิดชอบต่อการบริหารความเสี่ยง ซึ่งจะนําไปสู่วัฒนธรรมความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ โดยได้จัดการอบรมในรูปแบบออนไลน์ ทั้งหมด 3 ช่วงเวลา เพื่ออํานวยความสะดวกให้กับพนักงานผู้บริหารทุกท่านสามารถเข้าร่วมการอบรมดังกล่าวได้ครบทุกท่าน นอกจากนี้กลุ่มบริษัทฯ ได้จัดเวิร์กชอปเรื่องการบริหารความเสี่ยงให้ระดับผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการประจําหน้างาน และผู้จัดการกอง REIT (สําหรับพนักงานทุกระดับ) โดยมุ่งหวังเพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องการระบุความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยง และมาตรการลดความเสี่ยงที่อยู่ในพื้นที่ความรับผิดชอบของพนักงานแต่ละคน รวมถึงการปลูกฝังการรับรู้เรื่องความสําคัญของการบริหารความเสี่ยง

นอกจากนี้ กลุ่มบริษัทฯ ยังตั้งเป้าที่จะนํานวัตกรรมดิจิทัลต่างๆ มาใช้ เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ กลุ่มบริษัทฯ อยู่ระหว่างพัฒนาระบบดิจิทัล พร้อมด้วยการแจ้งเตือน เพื่อแสดงสถานะความเสี่ยงหลักทั้งหมด และตรวจสอบติดตาม การดําเนินการบริหารความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บริการการจัดเก็บทรัพย์สินส่วนบุคคล (SELF-STORAGE)
กลุ่มบริษัทฯ มีจุดมุ่งหมายที่จะขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่องตามยุทธศาสตร์ระยะยาว เพื่อนําเสนอผลิตภัณฑ์และบริการครบวงจรที่มีมูลค่าเพิ่ม พร้อมนวัตกรรมล้ำสมัย เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้า ด้วยเหตุนี้ กลุ่มบริษัทฯ ได้เล็งเห็นโอกาสในธุรกิจการจัดเก็บทรัพย์สินส่วนบุคคล (Self-Storage) ซึ่งมีศักยภาพที่จะเติบโตได้อย่างยั่งยืนควบคู่ไปกับการขยายตัวของสังคมเมือง
อ่านเพิ่มเติม
การดำเนินงานด้านภาษีของบริษัท
บริษัทให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการด้านภาษี โดยยึดหลักความถูกต้อง โปร่งใส ตรวจสอบได้ และปฏิบัติตามกฎหมายด้านภาษีที่เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์สูงสุดและสร้างความไว้วางใจให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ตลอดจนมีแนวทางในการวางแผนภาษีและการปฏิบัติทางด้านภาษีให้สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกับกลยุทธ์และเป้าหมายการประกอบธุรกิจของบริษัท
อ่านเพิ่มเติม
การสนับสนุนสถาบันและสมาคมทางธุรกิจต่างๆ
บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) มุ่งมั่นที่จะสร้างการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนและพัฒนาธุรกิจและสังคมอย่างยั่งยืน ผ่านความร่วมมือกับองค์กร สมาคมการค้า องค์กรของรัฐและองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรเพื่อช่วยขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ ที่จะส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยการดำเนินการดังกล่าว กลุ่มบริษัทฯ ได้ยึดมั่นในความโปร่งใส ภายใต้การกำกับดูแลกิจการและจริยธรรมที่ดี
อ่านเพิ่มเติม