ด้านธรรมาภิบาลและเศรษฐกิจ

การสนับสนุนสถาบันและสมาคมทางธุรกิจต่างๆ

บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ กลุ่มบริษัท (“ กลุ่มบริษัท”) มุ่งมั่นที่จะสร้างการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน และพัฒนาธุรกิจและสังคมอย่างยั่งยืน ผ่านความร่วมมือกับองค์กร สมาคมการค้า องค์กรของรัฐและองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรเพื่อช่วยขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ ที่จะส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยการดำเนินการดังกล่าว กลุ่มบริษัท ได้ยึดมั่นในความโปร่งใส ภายใต้การกำกับดูแลกิจการและจริยธรรมที่ดี กลุ่มบริษัทมิได้ให้การสนับสนุนเพื่อชี้นำองค์กรใด หรือเป็นผู้แทนที่มีส่วนได้เสียทั้งในระดับท้องถิ่น ภูมิภาค หรือการรณรงค์หาเสียง ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง การเมืองระดับชาติ และอื่นๆ (การใช้จ่ายเกี่ยวกับการลงคะแนนเสียง การลงประชามติ ฯลฯ)

ทั้งนี้ในปี 2567 กลุ่มบริษัท ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยได้นำไปเชื่อมโยงบูรณาการองค์ความรู้ไปสู่การใช้ประโยชน์ใน การดำเนินธุรกิจ กลุ่มบริษัท จึงได้สนับสนุนและผลักดันนโยบายด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผ่านการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ UN Global Compact

รายละเอียดเพิ่มเติม https://unglobalcompact.org/what-is-gc/participants/156095-WHA-Corporation-Public-Company-Limited

ลำดับ รายชื่อสมาคม/องค์กร จำนวนเงินสนับสนุน (บาท)
ปี 2564 ปี 2565 ปี 2566 ปี 2567
1 หอการค้าอเมริกันในประเทศไทย (AMCHAM) 535,000 535,000 535,000 535,000
2 สภาหอการค้าอังกฤษแห่งประเทศไทย (BCCT) 214,000 214,000 214,000 214,000
3 ข้อตกลงแห่งสหประชาติ (UNGC) - - 175,000 175,000
4 หอการค้าออสเตรเลีย - ไทย(AustCham Thailand) 160,500 160,500 160,500 160,500
5 สมาคมนิคมอุตสาหกรรมไทยและพันธมิตร (TISA) 90,000 90,000 90,000 90,000
6 หอการค้าญี่ปุ่น - กรุงเทพฯ (JCC) 57,600 57,600 57,600 57,600
7 หอการค้าฝรั่งเศส - ไทย(FTCC) 31,565 31,565 31,565 31,565
8 สมาคมการค้ายูโรเปียนเพื่อธุรกิจและการพาณิชย์ (EABC) 25,680 25,680 51,360 51,360
9 หอการค้าเบลเยียม - ลักเซมเบอร์ก/ไทย(BeLuThai) - 29,960 - -
10 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(FTI) 22,568 22,568 22,568 22,568
11 หอการค้าเยอรมันไทย(GTCC) 16,050 16,050 16,050 16,050
12 หอการค้าไทย - อิตาเลียน(TICC) 14,552 14,552 14,552 14,552
13 หอการค้านิวซีแลนด์ - ไทย (NZTCC) - 10,700 13,375 13,375
14 หอการค้ามาเลเซีย - ไทย (MTCC) 10,000 - 10,000 -
15 หอการค้าไทย - แอฟริกาใต้(SATCC) 9,630 10,700 10,700 10,700
16 หอการค้าสิงคโปร์ - ไทย(STCC) - 8,560 - -
17 หอการค้าไทย(TCC) 12,840 2,140 2,140 2,140
18 สภาธุรกิจไทย - เวียดนาม (TVBC) 3,000 3,000 - -
19 หอการค้าไทย - จีน (Thai CC) - - - -
20 หอการค้าเดนมาร์ก - ไทย(DTCC) 18,191 18,190 18,191 -
21 สภาอุตสาหกรรมจังหวัดสระบุรี - - - -
22 สมาคมการค้าไทย - ยุโรป - 53,500 - -
23 สภาอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง 4,280 - - -
24 สมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย(TAPMA) - - -
25 สมาคมอุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์ไทย (TPVA Thailand) 2,000 2,000 2,000 2,000
26 สถาบันน้ำ และสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน (WEIS) - - - -
27 เครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (TCNN) - - - -
28 กลุ่มพันธมิตรด้านการดักจับ ใช้ประโยชน์ และกักเก็บคาร์บอน แห่งประเทศไทย (TCCA) - - - -
29 สมาคมเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานไทย (TESTA) - - - 6,000
รายละเอียด จำนวนเงินสนับสนุน (บาท)
ปี 2564 ปี 2565 ปี 2566 ปี 2567
Lobbying interest representation or similar - - - -
Local, regional, or national political campaigns/ organizations/ candidates - - - -
Trade associations or tax-exempt groups (e.g. think tanks) 1,227,456 1,306,265 1,424,601 1,402,410
Other (e.g. spending related to ballot measures or referendums) - - - -
Total contributions and other spending 1,227,456 1,306,265 1,424,601 1,402,410
Data coverage (as % of denominator, indicating the organizational scope of the reported data) 100% 100% 100% 100%

องค์กรที่กลุ่มบริษัทให้การสนับสนุนสูงสุดในปี 2567

ชื่อองค์กร จำนวนเงินสนับสนุน ปี 2567 (บาท)
หอการค้าอเมริกันในประเทศไทย (AMCHAM Thailand)
องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ทางธุรกิจและการค้า ระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์หลัก ในการสนับสนุนการค้าและ การลงทุนระหว่างสหรัฐฯ และไทย พร้อมส่งเสริมแนวทางการดำเนินธุรกิจที่มีจริยธรรม อย่างยั่งยืนควบคู่กับความรับผิดชอบต่อสังคม
535,000
สภาหอการค้าอังกฤษแห่งประเทศไทย (BCCT)
สภาหอการค้าจากประเทศยุโรปที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียมีภารกิจเพื่อช่วยเหลือและส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจของอังกฤษในประเทศไทย และสนับสนุนความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของประเทศไทยโดยตรงในฐานะของ พันธมิตรที่ยั่งยืน โดยมีกิจกรรมที่ครอบคลุมงานด้านนโยบาย เศรษฐกิจ การเจรจาธุรกิจ และเสริมสร้างเครือข่าย รวมถึงโครงการสำคัญอย่าง Eastern Economic Corridor International Business Awards เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ และบริษัทที่ตั้งอยู่ใน นิคมอุตสาหกรรมทางภาคตะวันออกของประเทศไทย
214,000
ข้อตกลงแห่งสหประชาชาติ (UNGC)
โครงการระดับโลกที่ส่งเสริมองค์กรธุรกิจในการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมบนพื้นฐานของความสมัครใจโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้องค์กรและบริษัทต่าง ๆ ทั่วโลกดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนและมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ภายใต้กรอบหลักการ 10 ข้อ (Ten Principles) ที่แบ่งออกเป็น 4 ด้านสำคัญ คือด้านสิทธิมนุษยชน (Human Rights)ด้านมาตรฐานแรงงาน (Labour Standards)ด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) ด้านการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน (Anti-Corruption) เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals SDGs) ของสหประชาชาติ
175,000

ในปีงบประมาณ 2567 กลุ่มบริษัท ได้ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่องค์กรต่างๆ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการชี้นำและผลักดันนโยบายสาธารณะในประเด็นที่สำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. การสนับสนุนความยั่งยืนด้านน้ำในพื้นที่เขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) (90,000 บาท)

กลุ่มบริษัท ได้สนับสนุนเงินจำนวน 90,000 บาท ผ่านความร่วมมือกับ สมาคมพันธมิตรนิคมอุตสาหกรรมไทยและคู่ค้า (TIESPA) และ สถาบันน้ำและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน (WEIS) การสนับสนุนนี้มีเป้าหมายหลักเพื่อผลักดันนโยบายที่สร้างความมั่นคงด้านแหล่งน้ำให้กับภาคอุตสาหกรรมในระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การส่งเสริมการใช้น้ำจากแหล่งน้ำที่มีความยั่งยืนจากจังหวัดจันทบุรีเพื่อเสริมปริมาณน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้นในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

นอกเหนือจากการสร้างความมั่นคงด้านปริมาณแล้ว การสนับสนุนนี้ยังมุ่งส่งเสริมให้เกิดการอภิปรายและกำหนด โครงสร้างค่าน้ำที่ เป็นธรรมและโปร่งใส ทั้งสำหรับผู้ผลิตและผู้ใช้น้ำ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

2. การส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนและนโยบายการซื้อขายไฟฟ้า (P2P Energy Trading) (24,000 บาท)

ในฐานะสมาชิกของ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ สมาคมอุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์ไทย (TPVA) กลุ่มบริษัทฯ ได้ร่วมสนับสนุนเงินจำนวน 24,000 บาท เพื่อการรณรงค์และผลักดันนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมพลังงานทดแทน โดยมีเป้าหมายที่ชัดเจนคือการสร้างสภาพแวดล้อมทางกฎระเบียบที่เอื้อให้เกิด การซื้อขายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ระหว่างผู้ใช้แต่ละรายภายในนิคมอุตสาหกรรมกันเองได้อย่างเสรี (Peer-to-Peer Energy Trading)

การสนับสนุนนี้ยังรวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีที่จำเป็น เช่น “ระบบบริหารจัดการพลังงานอัจฉริยะด้วยดิจิทัล” (Smart Energy Platform) ซึ่งใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการทำธุรกรรม และอำนวยความสะดวกในการซื้อขายพลังงานระหว่างผู้ผลิตไฟฟ้ารายย่อยกับผู้ใช้พลังงานโดยตรง ความสำเร็จในการผลักดันนโยบายดังกล่าวจะนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของพลังงานสะอาดในนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งในการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัท แต่ยังเป็นการสร้างความมั่นคงทางพลังงานและส่งเสริมความยั่งยืนให้กับกลุ่มลูกค้าของกลุ่มบริษัทควบคู่กันไป

การให้การสนับสนุนดังกล่าวเป็นการลงทุนเชิงกลยุทธ์ที่สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของกลุ่มบริษัท ในการมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมทางกฎระเบียบที่เอื้อต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน เพื่อประโยชน์ร่วมกันของกลุ่มบริษัท ลูกค้า สังคม และ ผู้มีส่วนได้เสียโดยรวม

การดำเนินงานด้านภาษีของบริษัท
บริษัทให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการด้านภาษี โดยยึดหลักความถูกต้อง โปร่งใส ตรวจสอบได้ และปฏิบัติตามกฎหมายด้านภาษีที่เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์สูงสุดและสร้างความไว้วางใจให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ตลอดจนมีแนวทางในการวางแผนภาษีและการปฏิบัติทางด้านภาษีให้สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกับกลยุทธ์และเป้าหมายการประกอบธุรกิจของบริษัท
อ่านเพิ่มเติม
External Audit on Risk Management Processes
อ่านเพิ่มเติม
การต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น
กลุ่มบริษัทฯ ยึดมั่นในการปลูกฝังพนักงานให้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อให้เกิดเป็นผลกระทบเชิงบวกในการดําเนิน ธุรกิจทุกภาคส่วน ทั้งนี้ การทุจริตและคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบนับว่าเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ ดังนั้นกลุ่มบริษัทฯ จึงได้จัดทําและทบทวนนโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่นให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ เพื่อต่อต้านและป้องกันการทุจริตและคอร์รัปชั่นอย่างจริงจัง โดยนโยบายนี้มีผลครอบคลุมไปยังพนักงาน คู่ค้าผู้จัด จําหน่ายสินค้าบริการ ผู้รับเหมา บริษัทย่อย และบริษัทร่วมค้า (Joint Ventures)
อ่านเพิ่มเติม