ด้านสิ่งแวดล้อม

ระบบพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา

กลุ่มบริษัทฯ มุ่งเน้นที่จะติดตั้งแผงโซลาร์เพื่อเพิ่มการใช้พลังงานทดแทนในการดําเนินงานของกลุ่มบริษัทฯ โดยในปี 2564 พลังงานสะอาดที่ผลิตได้จากแผงโซลาร์บนหลังคา โรงบําบัดน้ําเสียในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอตะวันออก (มาบตาพุด) (WHA EIE) สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากเชื้อเพลิงพาณิชย์ได้ราว 315,857 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี จึงช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม ประเภทที่ 2 (Scope 2) ได้ถึง 177 tCO2e นอกจากนี้ ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบริเวณพื้นที่ลานจอดรถในบริเวณ WHA Plaza 1 และ WHA Plaza 2 ณ นิคมอุตสาหกรรม ดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด (WHA ESIE) รวมถึงพื้นที่ลานจอดรถในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 4 (WHA ESIE 4) มีประสิทธิภาพในการผลิตพลังงาน แสงอาทิตย์เพื่อทดแทนการใช้ไฟฟ้าจากระบบจ่ายพลังงานได้ รวมทั้งสิ้นถึง 352,015 กิโลวัตต์ชั่วโมง จึงป้องกันการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมได้กว่า 197 tCO2e

ทั้งนี้ บริษัท ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ จํากัด (WHAUP) เริ่มดําเนินโครงการนําร่องติดตั้งแผงโซลาร์ร่วมกับระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ (Battery Energy Storage System: BESS) บนหลังคาโรงบําบัดน้ําในนิคมอุตสาหกรรม อีสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง) (ESIE) ซึ่งได้ดําเนินการแล้วเสร็จและเปิดใช้งานในเดือนพฤศจิกายน 2564 ทั้งนี้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตพลังงานทดแทนของกลุ่มบริษัทฯ โดยระบบพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งนี้มีกําลังการผลิตติดตั้ง รวม 813.2 กิโลวัตต์ ขณะที่ระบบ BESS มีกําลังการผลิตพลังงานไฟฟ้าอยู่ที่ 550 กิโลวัตต์ชั่วโมง โครงการนี้จึงช่วยให้กลุ่มบริษัท WHAUP ลดการใช้ไฟฟ้าจากระบบจ่ายพลังงานในแต่ละปีได้ราว 1,150 เมกะวัตต์ชั่วโมง หรือเทียบเท่าการลดต้นทุนค่าไฟฟ้าประมาณ 4 ล้านบาทต่อปี ทั้งยังช่วยให้ กลุ่มบริษัทฯ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประเภทที่ 2 ตลอดอายุโครงการได้ 15,000 tCO2e จากการใช้พลังงาน ทดแทนไฟฟ้าจากระบบจ่ายพลังงาน

GREEN BUILDING
The procurement of construction materials is an important step in WHA Group’s project development process. Therefore, the company has implemented sustainable procurement practices to ensure that no products are sourced from protected areas.
อ่านเพิ่มเติม
การบริหารจัดการของเสียที่เกิดจากกระบวนการก่อสร้าง
กลุ่มบริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะพัฒนากระบวนการจัดการของเสียของทั้ง 4 กลุ่มธุรกิจ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายคุณภาพสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์พลังงาน และความหลากหลายทางชีวภาพ (Environmental Quality, Energy Conservation and Biodiversity Policy) รวมถึงเป็นไปตามกระบวนการที่เกี่ยวข้องด้านการจัดการของเสียที่ระบุไว้ในผลการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) นอกจากนี้ กลุ่มบริษัทฯ ได้มีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อบริหารและจัดการของเสียเพื่อกำกับดูแลและตรวจสอบการจัดการของเสียให้เป็นไปตามแนวทางที่เหมาะสมตามข้อกำหนดทางกฎหมาย คณะทำงานดังกล่าวจะตรวจสอบและจำแนกของเสียแต่ละประเภทจากการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯ ตลอดจนส่งเสริมนโยบายการจัดการการจัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกลุ่มบริษัทฯ
อ่านเพิ่มเติม
กระบวนการบริหารสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน (Integrated Environmental Management System: EMS)
กลุ่มบริษัทฯ ได้ตระหนักถึงความสําคัญอย่างยิ่งและได้มีการดําเนินการจัดการสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ทรัพยากรมาอย่างต่อเนื่อง โดยพัฒนาเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยเน้นการนํารูปแบบและระบบการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพมาใช้
อ่านเพิ่มเติม