ด้านสิ่งแวดล้อม

การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town) เป็นกรอบการพัฒนาโดยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เพื่อส่งเสริมและขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและความยั่งยืน ด้านสิ่งแวดล้อมของนิคมอุตสาหกรรม โดยกําหนดเกณฑ์ชี้วัดครอบคลุม 5 มิติ ได้แก่ มิติกายภาพ มิติเศรษฐกิจ มิติ สังคม มิติสิ่งแวดล้อม และมิติการบริหารจัดการ เพื่อใช้สําหรับการประเมินผลการดําเนินงานของนิคมอุตสาหกรรมด้านธรรมาภิบาลขององค์กรสิทธิมนุษยชน แนวปฏิบัติในการใช้แรงงาน สิ่งแวดล้อม การมีส่วนรวมของชุมชน และการพัฒนาชุมชน โดยผลการพิจารณาจะมีการรับรองการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ “อีโค-แชมเปียน (Eco-Champion)” “อีโค-แอกเซลเลนซ์ (EcoExcellence)” และ “อีโค-เวิลด์คลาส (Eco-World Class)”

นิคมอุตสาหกรรม 4 ใน 10 แห่งของกลุ่มบริษัทฯ ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์น ซีบอร์ด (ESIE) นิคมอุตสาหกรรม ดับบลิวเอชเอ ชลบุรี 1 (WHA CIE 1) นิคมอุตสาหกรรม ดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 1 (WHA ESIE 1) และนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ชลบุรี 2 (WHA CIE 2) ได้รับการรับรองให้เป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในระดับ “อีโคแชมเปียน” ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา นอกจากนี้

นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ตะวันออก (มาบตาพุด) (WHA EIE) ยังได้ยกระดับมาตรฐานเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จากระดับ “อีโค-แชมเปียน” มาสู่ระดับ “อีโค-แอกเซลเลนซ์ (Eco-Excellence)” โดยนิคมอุตสาหกรรมที่กล่าวมานี้มีผลการดําเนินงานที่โดดเด่นในแง่การประกอบธุรกิจที่คํานึงถึงส่วนรวมและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามกรอบการพัฒนา เมืองอุตสาหกรรมอัจฉริยะ ทั้งนี้ นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์น ซีบอร์ด (ESIE) ยังได้รับรางวัลพิเศษในฐานะเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ 4.0 สาขา Smart Water ในปี 2563 อีกด้วย

WHA ESIE ALSO RECEIVED A SPECIAL ECOINDUSTRIAL TOWN 4.0 AWARD IN THE SMART WATER CATEGORY IN 2020.

การตรวจสอบธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม

การตรวจสอบธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม (โครงการลงบาว-ดาวเขียว) โครงการมอบรางวัลธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม (โครงการธง ขาว-ดาวเขียว) เป็นนโยบายของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยมีการมอบรางวัลให้กับโรงงานอุตสาหกรรม ที่มีผลการดําเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นเลิศ ทั้งนี้ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมต้องจัดกิจกรรมเยี่ยมชมโรงงานให้กับคณะกรรมการตรวจประเมินกระบวนการผลิต กระบวนการบริหารจัดการด้านมลพิษ และโครงการร่วมกับชุมชนกลุ่มบริษัทฯ ยังได้เป็นคณะกรรมการของโครงการร่วมกับหน่วยงานรัฐ ชุมชน และผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจประเมินโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมของกลุ่มบริษัทฯ ในปี 2563 โรงงานทั้งหมด 40 แห่งในนิคมอุตสาหกรรมของกลุ่มบริษัทฯ ได้แก่ โรงงาน 2 แห่งจากในนิคมอุตสาหกรรม ดับบลิวเอชเอ ตะวันออก (มาบตาพุด) (WHA EIE) โรงงาน 2 แห่งจากนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 1 (WHA ESIE 1) และโรงงาน 2 แห่งจากนิคมอุตสาหกรรม ดับบลิวเอชเอ ชลบุรี 1 (WHA CIE 1) ได้รับมอบธง ธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม (ธงขาว-ดาวเขียว)

กลุ่มบริษัทดับบลิวเอชเอมุ่งมั่นลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็น 0 (Net Zero) ภายในปี พ.ศ. 2593
กลุ่มบริษัทดับบลิวเอชเอยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจพร้อมกับการสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนร่วมกันกับผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย โดยให้ความสำคัญทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ซึ่งหนึ่งในประเด็นสำคัญที่กลุ่มบริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการคือประเด็นทางด้านก๊าซเรือนกระจกและแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน ด้วยการลดการสร้างผลกระทบเชิงลบ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อีกทั้งการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ อาทิ การส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน การใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบัน อีกทั้งการศึกษานวัตกรรมและเทคโนลียีต่างๆ ที่จะเป็นการผลักดันการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนได้อย่างยั่งยืนตลอดห่วงโซ่คุณค่าของกลุ่มบริษัทฯ ซึ่งจะสอดคล้องกับทิศทางของโลกในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึง เป้าหมายของประเทศไทยเกี่ยวกับการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality) ในปี พ.ศ.2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero greenhouse gas emissions) ในปี พ.ศ. 2608
อ่านเพิ่มเติม
การบริหารจัดการของเสียที่เกิดจากกระบวนการก่อสร้าง
กลุ่มบริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะพัฒนากระบวนการจัดการของเสียของทั้ง 4 กลุ่มธุรกิจ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายคุณภาพสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์พลังงาน และความหลากหลายทางชีวภาพ (Environmental Quality, Energy Conservation and Biodiversity Policy) รวมถึงเป็นไปตามกระบวนการที่เกี่ยวข้องด้านการจัดการของเสียที่ระบุไว้ในผลการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) นอกจากนี้ กลุ่มบริษัทฯ ได้มีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อบริหารและจัดการของเสียเพื่อกำกับดูแลและตรวจสอบการจัดการของเสียให้เป็นไปตามแนวทางที่เหมาะสมตามข้อกำหนดทางกฎหมาย คณะทำงานดังกล่าวจะตรวจสอบและจำแนกของเสียแต่ละประเภทจากการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯ ตลอดจนส่งเสริมนโยบายการจัดการการจัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกลุ่มบริษัทฯ
อ่านเพิ่มเติม
Water Reclamation System: Pioneering Sustainable Water Management
WHA Group is leading the position in sustainable water management with its advanced water reclamation systems, designed to provide an alternative water source, particularly in the Eastern Economic Corridor (EEC).
อ่านเพิ่มเติม