ด้านสิ่งแวดล้อม

Unified Operation Center (UOC)

กลุ่มบริษัทฯ ได้นําระบบศูนย์ควบคุมส่วนกลาง (Unified Operation Center: UOC) มาใช้งานเพื่อรวบรวม บูรณาการ และแสดงผล จากระบบตรวจสอบเฝ้าระวังในโครงการและพื้นที่ปฏิบัติงานของกลุ่มบริษัทฯ ทั้งนี้ระบบ UOC นั้นเพื่อรองรับการตรวจวัดสถานะ ต่างๆ ในเขตประกอบการแบบเรียลไทม์ ทั้งระบบผลิตน้ำ ระบบการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น ตามเจตนารมณ์ของกลุ่ม บริษัทฯ ที่ต้องการให้มีการแสดงข้อมูลผลชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อมอย่างโปร่งใส และรองรับให้เป็นไปตามข้อกําหนดโดยหน่วยงานรัฐที่ให้มีการเผยแพร่ผลการตรวจวัดต่อสาธารณะ

1. ศูนย์เฝ้าระวังและควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (EMcC) มุ่งเน้นไปที่การดําเนินงาน 5 ส่วนต่อไปนี้

  • สถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำ (Water Quality Monitoring Station: WQMS) จะตรวจสอบคุณภาพน้ำในส่วนของน้ำที่ ผ่านการบําบัดก่อนระบายสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งจะมีการวัดปริมาณสารอินทรีย์ต่างๆ ค่า COD (Chemical Oxygen Demand) และค่า BOD (Bio-Chemical Oxygen Demand) ทั้งนี้ระบบจะแสดงสัญญาณเตือนเมื่อตรวจพบค่าที่ไม่ได้มาตรฐานเพื่อแจ้งให้พนักงานที่เกี่ยวข้องทราบและจัดการแก้ไขโดยทันที เพื่อสูบน้ำไปบําบัดจนกระทั่งได้คุณภาพตาม มาตรฐานระบบตรวจวัดคุณภาพอากาศ (Air Quality Monitoring Station: AQMS) จะใช้สําหรับตรวจวัดค่าปริมาณฝุ่นละอองรวม (TSP) ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM-10) ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และก๊าซไนโตรเจน (NO2) ในบรรยากาศทั่วไป ตลอดจนการตรวจสอบข้อมูลด้าน อุตุนิยมวิทยา เช่น ความเร็วลม และทิศทางลม เป็นต้น
  • เปิดเผยผลการติดตามและการเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมของนิคมอุตสาหกรรมตามที่รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) กําหนดซึ่งตัวแปรชี้วัดที่ตรวจสอบได้แก่ ปริมาณสารอินทรีย์ที่ระเหยง่ายในบรรยากาศ มลพิษ ทางเสียง คุณภาพน้ำผิวดิน ฯลฯ
  • เป็นช่องทางให้แก่ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมฯ ที่อยู่ภายในนิคมอุตสาหกรรมของกลุ่มบริษัทฯ สามารถนํา เสนอรายงานด้านสิ่งแวดล้อมตามข้อกําหนดในการประเมิน EIA ของโรงงานแต่ละแห่ง เช่น รายงานเกี่ยวกับคุณภาพ และการปล่อยมลพิษทางอากาศ ค่าชี้วัดตามการประเมิน ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) การวิเคราะห์ความเสี่ยงและรายงานการตรวจสอบการทํางานหม้อไอน้ำหรือระบบการ ผลิตไอน้ำ (Boiler/ Steam Generator) เป็นต้น การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจึงสามารถตรวจสอบรายงาน ต่าง ๆ ผ่านระบบ UOC ดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังสามารถช่วยลดปริมาณการใช้กระดาษอีกด้วย
  • บันทึกข้อมูลและติดตามเรื่องร้องเรียนจนเสร็จสิ้นกระบวนการจัดการข้อร้องเรียน โดยข้อร้องเรียนที่ได้รับผ่านช่องทางต่างๆ จะถูกบันทึกในระบบและมีการแจ้งเตือนไปยังบุคลากรที่มีหน้าที่รับผิดชอบเพื่อดําเนินการจัดการแก้ไขปัญหาตามข้อร้องเรียนต่อไป

2. ระบบกล้องวงจรปิดรักษาความปลอดภัย (CCTV) และระบบควบคุมการจราจร (VMS)

ระบบ UOC จะเป็นจุดรวบรวมข้อมูลจากกล้องวงจรปิด (CCTV) ทั้งหมดที่ติดตั้งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภายในพื้นที่ส่วนกลางของนิคมอุตสาหกรรมช่วยให้หน่วยงานควบคุมเหตุการณ์ฉุกเฉินสามารถสังเกตและตรวจพบเหตุอันตรายได้ง่ายและสามารถดําเนินการรับมือได้อย่างทันท่วงที่เมื่อจําเป็น นอกจากนี้ระบบควบคุมการจราจร (VMS) ยังช่วยรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจราจรทั้งหมดที่บริเวณทางเข้าหลักของนิคมอุตสาหกรรม เช่น ป้ายทะเบียนรถ และเวลาที่รถเข้าออก เป็นต้น เพื่อบริหารจัดการการจราจรให้คล่องตัวยิ่งขึ้นและเป็นการสร้างเสริมความปลอดภัย

3. ศูนย์ควบคุมระบบน้ำและระบบบําบัดน้ำเสีย

ใช้หรับแสดงผลและคาดการณ์เพื่อควบคุมประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์ในระบบการผลิตน้ำและระบบบําบัดน้ำเสีย เพื่อให้แน่ใจว่าน้ำได้คุณภาพตามมาตรฐานก่อนส่งมอบให้กับลูกค้ารือปล่อยลงสู่ทางระบายน้ำรวม

กลุ่มบริษัทดับบลิวเอชเอมุ่งมั่นลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็น 0 (Net Zero) ภายในปี พ.ศ. 2593
กลุ่มบริษัทดับบลิวเอชเอยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจพร้อมกับการสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนร่วมกันกับผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย โดยให้ความสำคัญทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ซึ่งหนึ่งในประเด็นสำคัญที่กลุ่มบริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการคือประเด็นทางด้านก๊าซเรือนกระจกและแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน ด้วยการลดการสร้างผลกระทบเชิงลบ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อีกทั้งการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ อาทิ การส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน การใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบัน อีกทั้งการศึกษานวัตกรรมและเทคโนลียีต่างๆ ที่จะเป็นการผลักดันการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนได้อย่างยั่งยืนตลอดห่วงโซ่คุณค่าของกลุ่มบริษัทฯ ซึ่งจะสอดคล้องกับทิศทางของโลกในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึง เป้าหมายของประเทศไทยเกี่ยวกับการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality) ในปี พ.ศ.2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero greenhouse gas emissions) ในปี พ.ศ. 2608
อ่านเพิ่มเติม
การบริหารจัดการของเสียที่เกิดจากกระบวนการก่อสร้าง
กลุ่มบริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะพัฒนากระบวนการจัดการของเสียของทั้ง 4 กลุ่มธุรกิจ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายคุณภาพสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์พลังงาน และความหลากหลายทางชีวภาพ (Environmental Quality, Energy Conservation and Biodiversity Policy) รวมถึงเป็นไปตามกระบวนการที่เกี่ยวข้องด้านการจัดการของเสียที่ระบุไว้ในผลการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) นอกจากนี้ กลุ่มบริษัทฯ ได้มีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อบริหารและจัดการของเสียเพื่อกำกับดูแลและตรวจสอบการจัดการของเสียให้เป็นไปตามแนวทางที่เหมาะสมตามข้อกำหนดทางกฎหมาย คณะทำงานดังกล่าวจะตรวจสอบและจำแนกของเสียแต่ละประเภทจากการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯ ตลอดจนส่งเสริมนโยบายการจัดการการจัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกลุ่มบริษัทฯ
อ่านเพิ่มเติม
Water Reclamation System: Pioneering Sustainable Water Management
WHA Group is leading the position in sustainable water management with its advanced water reclamation systems, designed to provide an alternative water source, particularly in the Eastern Economic Corridor (EEC).
อ่านเพิ่มเติม